วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561

“เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF” โดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์


“เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF” โดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์


ทำไมเด็กคนหนึ่งถึงไปได้ดีกว่าเด็กอีกคนหนึ่ง?
เพราะบันได 7 ขั้น

เด็กที่ได้รับการดูแลจากผู้ปกครองตามบันได 7 ขั้นและทำบันไดในแต่ละขั้นให้สมบูรณ์ ย่อมมีโอกาสจะประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่า

บันได 7 ขั้น มีดังนี้
1. แม่มีจริง object constancy :ในช่วง 1 ขวบแรกของชีวิต แม่มอบความรัก อุ้มมาก ดูแลมากพอ แม่ก็จะมีจริง ประทับลงลึกถึงจิตใต้สำนึกของเด็ก แม้เมื่อเด็กโตขึ้น และแม่ไม่อยู่ด้วยกัน แต่แม่ก็ยังมีจริงในใจเสมอ

2. สายสัมพันธ์ attachment : 1-3 ปีแรกของชีวิต ลูกจะยังไม่แยกตัวออกจากแม่โดยสมบูรณ์ เป็นช่วงเวลาที่จะพัฒนาสายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่สื่อด้วยใจ ผ่านการเลี้ยงดู ให้เวลาดูแล กอดหอม อุ้ม เล่น มากพอ เด็กก็พร้อมที่จะสร้างตัวตนของตัวเองขึ้นมา เมื่ออายุ2 ½ - 3 ขวบ จะเกิดกระบวนการแยกตัวเป็นบุคคลอิสระจากแม่ (ดังนั้น การแยกกับแม่ก่อน 3 ขวบ ทำให้เกิดแผลทางใจ)

3. ตัวตน self : เข้าสู่ขวบปีที่ 3 เด็กจะแยกออกจากแม่โดยสมบูรณ์ แต่มีสายสัมพันธ์ที่สร้างไว้ในขั้นที่ 2 ผูกโยงจิตใจไว้
เป็นวัยที่เริ่ม หนูทำได้ และหนูจะทำเองคือ autonomy & initiation ส่งเสริมขั้นนี้ด้วยการ ปล่อยให้ทำเอง ลองผิดลองถูกและเฝ้าดู

4. เซลฟ์เอสตีม self-esteem : ช่วง 3-5 ขวบ เด็กปีนบันไดทีละขั้น ทีละขั้น แล้วจะทำสำเร็จครบทุกขั้น งานบางอย่างจึงอาจต้องซอยงานให้ละเอียดเพื่อให้เด็กเข้าใจและทำสำเร็จได้ทีละขั้น เช่นถูบ้าน ต้องเริ่มจากขั้นแรก เปิดน้ำใส่ถัง ไม้จุ่มน้ำ ถูลงพื้น ล้างไม้ บิดตาก ทำให้สำเร็จเป็นขั้นๆ สะสมความสำเร็จในสิ่งที่ตัวเองทำทุกวัน และได้รับความชื่นชมที่การกระทำที่สำเร็จนั้นทุกๆวัน จนเกิดเป็น self-esteem
ปริมาณเวลาที่เราได้อยู่กับลูกสำคัญกว่าคุณภาพ เพราะ เราจะมีเวลามากขึ้น มองเห็นลูกชัดขึ้น ใจเย็นขึ้น รำคาญลูกยากขึ้น ชื่นชมลูกง่ายขึ้น

5. ควบคุมตนเอง self control : 3-6 ขวบ มีความสามารถทำงาน หรือกิจกรรมที่ตัวเองชื่นชอบหรืออาจจะไม่ชื่นชอบจนสำเร็จ โดยไม่ถูกชักจูงไปทำอย่างอื่นจากสิ่งยั่วยุที่เข้ามา

6. Executive Function (EF) เป็นบันไดที่สำคัญที่ควรสร้างให้ได้ ภายใน 7 ปีแรก ของชีวิต (เริ่มได้ตั้งแต่ 2-3 ขวบ) เพราะเด็กที่ได้รับการส่งเสริมให้มี EF ที่ดี จะมีโอกาสที่จะประสบความสุขและความสำเร็จในชีวิตได้

Executive Function (EF) คืออะไร
EF คือ ความสามารถระดับสูงของสมอง ที่ใช้ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และ การกระทำเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย
โดยที่เป้าหมายนั้นๆ ตั้งอยู่บนขีดจำกัดความสามารถของสมองแต่ละบุคคล ไม่เท่ากัน เป้าหมายของเด็กปกติกับเป้าหมายของเด็กพิเศษย่อมแตกต่างกัน ขอเพียงคุณพ่อ คุณแม่เปิดใจกว้างยอมรับและเข้าใจในสิ่งที่ลูกเป็น เชื่อมั่นว่าเด็กทุกคนพัฒนาEFได้ ในลู่วิ่งของตนเอง ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตได้ทุกคน ตามศักยภาพของตนเอง
EF ที่ดี ประกอบไปด้วย
😀 ดูแลตนเองได้
😀 เอาตัวรอดได้
😀 มีอนาคต

7. ทักษะศตวรรษที่21 21st CSK เมื่อเด็กผ่านบันไดทั้ง 6 ขั้น ใน 7 ปีแรก มี EF มี self-esteem ก็พร้อมที่จะเรียนรู้ทักษะศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นบันไดขั้นต่อไป เพื่อให้เด็กสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งแตกต่างจากยุคของพ่อแม่โดยสิ้นเชิง

ทำอย่างไรเด็กจึงจะได้ EF ที่ดีละ หนังสือ "เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF" เล่มนี้ เป็นผลงานของ "นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์" ได้รวบรวมองค์ความรู้เรื่อง EF และทักษะศตวรรษที่ 21 จากวิชาชีพและการสั่งสมประสบการณ์ยาวนาน ถ่ายทอดออกมาได้ง่าย อ่านแล้วทำตามได้อย่างแน่นอน!

ผู้เขียน : นพ. ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
ราคา : 165 บาท

สารบัญ
บทที่ 1 ทำไมเด็กคนหนึ่งถึงไปได้ดีกว่าเด็กอีกคนหนึ่ง
บทที่ 2 ความไว้วางใจสร้างตัวตน
บทที่ 3 สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าแม่
บทที่ 4 กระบวนการสร้างตัวตนของเด็ก
บทที่ 5 EF คืออะไร
บทที่ 6 เป้าหมายที่หายไป
บทที่ 7 การทำงานสร้างเป้าหมาย
บทที่ 8 EF กับเป้าหมายระยะยาว
บทที่ 9 EF ที่ดีเป็นอย่างไร
บทที่ 10 ดูแลตัวเองได้
ฯลฯ

พบกับสินค้าดีๆ มีคุณภาพได้แล้ววันนี้ที่ ที่ SE-ED Online Shopping
#ซีเอ็ดออนไลน์#ครอบครัว#พัฒนาการของเด็ก#คู่มือการเลี้ยงลูก#การเลี้ยงเด็ก
สนใจสินค้า หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถ  ติดต่อได้ที่  Tel. 02-739-8753, 02-739-8754 และ e-commerce@se-ed.com 
SE-ED Online Shopping | www.se-ed.com เว็บไซต์ร้านหนังสือที่ได้รับรางวัลจากการประกวดเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ดีเด่น ประจำปี 2560 (DBD e-Commerce Website Award 2017: DEWA) ที่ได้คะแนน 100 คะแนนเต็ม ดีเด่น 2 ด้าน คือ ด้านการตลาดสร้างสรรค์ (Best of Creative Marketing) และ ด้านความน่าเชื่อถือ (Best of Trustworthy) จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์    




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น